Atom me

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรม วันป้องกันอุบัติภัยเเห่งชาติ

คุณครูที่พานักเรียนไปร่วมกิจกรรม คือ คุณครู มยุรี บุญรอดค่ะ

ขณะที่นั่งรอเปิดงานค่ะ


ขณะที่ลงชื่อค่ะ

กิจกรรมในงานค่ะ



วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หนูรักแม่ที่สุด


เเม่เปรียบดั่ง นางฟ้าของลูก แม่เป็นได้ทุกอย่างที่ลูกต้องการ แม่ทำเพื่อลูกทุกอย่าง ไม่ว่าลูกจะขออะไร แม่ก็หามาให้

 โอ้ละเห่-ฟูมฟัก…ด้วยรักเจ้า
เมื่อยามเยาว์แม่ถนอมกล่อมจอมขวัญ
เอื้ออาทร-ร้อนร้าย แม่คลายพลัน
ภัยกางกั้นแม่กล้าฟันฝ่าไป


หวังเพียงแค่ “คนดี” ที่แม่รัก
จะมีหลักอนาคตที่สดใส
ยอมลำบากยากเย็นทุกข์เข็ญใจ
ด้วยสายใยรักแน่น ไม่แคลนคลอน


แม่จ๋า…ล้านความรักจากใครเขา
หลอมรวมเข้าอาจแกร่งยิ่งดั่งสิงขร
แต่… “รัก” หญิงที่ขนานนาม “มารดร”
แกร่งแน่นอน..กว่าสิ่งใดในโลกา


แม่จ๋า…แม่คือหญิงที่ยิ่งใหญ่
เหนือเทพไท้ ทั้งสามภพจบทั่วหล้า
พระคุณล้นเกินรำพันจำนรรจา
พรรณนาเทียบได้…ไม่เพียงพอ


จะหาทิพย์จากสวรรค์ ณ ชั้นสรวง
กรองเป็นพวงแทนพลอย…ทำสร้อยศอ
หรือหยิบดาวพราวฟ้ามาทักทอ
แทนป่านปอ….เป็นของขวัญ…นั้นด้อยไป


โอ้ละเห่..ที่ฟูมฟัก “ลูกรักแม่” 
สัญญาแน่..เป็นคนดีมิเผลอไผล
เพื่อทดแทนคุณความรัก…จากดวงใจ

กราบด้วย “มาลัยอักษรา” บูชาเอย














วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันเข้าพรรษา
         
              วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น

               "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา" ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

              สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่ 1.การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย 2.การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้ 3.การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด 4.หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้ นอกจากนี้หากระหว่างเดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้

                ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา...



http://hilight.kapook.com/view/13698/

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติ

เด็กหญิง เมธาวี โสวะภาสน์ ชั้น ม.3/3 เลขที่ 5
เป็นหัวหน้าห้อง ติ้งต๋อง ZaZa ปัญญาอ่อนนิดๆ